คณะสาขา / โครงการที่เปิดรับ (รอบที่ 1.2 Portfolio) ปีการศึกษา 2568

ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลง แก้ไข ให้ตรวจสอบข้อมูลอย่างต่อเนื่อง

คณะเทคนิคการแพทย์ : โครงการรับนักเรียนผู้พิการ
หลักสูตร : วท.บ. (เทคนิคการแพทย์) เทคนิคการแพทย์


รายละเอียดการรับสมัคร
ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา ​(ค่าเทอม)
นักศึกษาไทย : 26000 บาท
นักศึกษาต่างชาติ : 26000 บาท

การรับสมัคร
หลักสูตรแกนกลาง : รับ
นานาชาติ : ไม่รับ
อาชีวะ : รับ
กศน. : ไม่รับ
GED : ไม่รับ
เด็กซิ่ว : ไม่รับ

เกรดขั้นต่ำ : เกรด 4 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.50

แนวทางประกอบอาชีพ :
แนวทางการประกอบอาชีพสาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จะได้รับปริญญาเทคนิคการแพทยบัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ ชื่อย่อ ทพ.บ. (เทคนิคการแพทย์) โดยมีตำแหน่งเป็น นักเทคนิคการแพทย์ (ทนพ. หรือ ทนพญ.) สามารถประกอบอาชีพตำแหน่งนักเทคนิคการแพทย์ ในหน่วยงานต่าง ๆ ได้ดังนี้ 1. ภาครัฐบาล ห้องปฏิบัติการ (ห้อง lab) โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลค่าย โรงพยาบาลตำรวจ โรงพยาบาลโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย โรงพยายาลสังกัด กทม. ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ศูนย์มะเร็ง สำนักงานป้องกันควบคุมโรค โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ศูนย์หรือห้องปฏิบัติการวิจัย รัฐวิสาหกิจ ห้องปฏิบัติการเวชศาสตร์จีโนม ผู้ช่วยนักวิจัย 2. ภาคเอกชน ห้องปฏิบัติการ ( ห้อง lab) โรงพยาบาลเอกชน สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์กรมหาชน) : นักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ องค์กรการกุศล เช่น สภากาชาดไทย สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก นอกจากนี้ยังสามารถประกอบอาชีพอื่นที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ ได้แก่ คลินิกเทคนิคการแพทย์ คลินิกแล็ป ศูนย์บริการตรวจวิเคราะห์ทางการแพทย์ที่ให้บริการแก่โรงพยาบาลและคลินิก ผู้แทนฝ่ายขาย เครื่องมือตรวจวิเคราะห์ น้ำยาวินิจฉัยโรค ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ (Product Manger) ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ (Product specialist) ที่ให้คำปรึกษา และแก้ไขปัญหาเบื้องต้นกับลูกค้า อธิบายและนำเสนอผลิตภัณฑ์แก่ลูกค้า ผู้ผลิตโปรแกรมสำหรับห้องปฏิบัติการชันสูตรโรค บริษัทประกันชีวิต (ตรวจทดสอบทางห้องปฏิบัติการ)

หมายเหตุ :
ประเภทความพิการ เป็นบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ข้อ (4)(4.1) และสามารถเคลื่อนไหวได้โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนและการฝึกปฏิบัติการไม่เป็นผู้พิการที่ต้องใช้รถเข็นขนส่งหรือผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้มือในการช่วยเดิน