คณะสาขา / โครงการที่เปิดรับ (รอบ Portfolio) ปีการศึกษา 2568

ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลง แก้ไข ให้ตรวจสอบข้อมูลอย่างต่อเนื่อง

คณะสัตวแพทยศาสตร์ : โครงการกลุ่มบุตรผู้ให้การสนับสนุนด้านการจัดการเรียนการสอน
หลักสูตร : สพ.บ. สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต โครงการบุตรผู้ให้การสนับสนุนด้านการจัดการเรียนการสอน


รายละเอียดการรับสมัคร
ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา ​(ค่าเทอม)
นักศึกษาไทย : 35000 บาท
นักศึกษาต่างชาติ : 35000 บาท

การรับสมัคร
หลักสูตรแกนกลาง : รับ
นานาชาติ : รับ
อาชีวะ : รับ
กศน. : รับ
GED : รับ
เด็กซิ่ว : รับ

เกรดขั้นต่ำ : เกรด 0 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.00

เกณฑ์การคัดเลือก :
เกณฑ์การคัดเลือก ดังนี้การคัดเลือกพิจารณาจากเอกสารการสมัคร  ตามคุณสมบัติของแต่ละโครงการ ผู้สมัครสามารถสมัครได้มากกว่า 1  โครงการ    โดยยื่นเอกสารหลักฐาน  คือ  แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)   หรือเอกสารแนะนำตัว (Recommendation) เพื่อประกอบการพิจารณาแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลผลการเรียน ข้อมูลงานด้านต่างๆ การเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ หรือการได้รับรางวัลที่แสดงถึงทักษะพิเศษทางด้านวิชาการ ด้านสังคม ความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถพิเศษ จิตสาธารณะ และความเป็นผู้นำไม่นับรวมเอกสารหนังสือรับรอง ที่ออกให้โดยสถาบันกวดวิชา หรือองค์กร ที่จัดตั้งเพื่อธุรกิจทางการศึกษา การสอบสัมภาษณ์กรณีที่ผู้สมัครในแต่ละโครงการมีคุณสมบัติที่แตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ ให้เป็นดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต  การพิจารณาของคณะกรรมการฯ ให้ถือเป็นที่สุด ทั้งนี้คณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ อาจพิจารณาย้ายกลุ่มผู้สมัครตามความเหมาะสมเพื่อประโยชน์ของผู้สมัครได้

คุณสมบัติสาขา :
คุณสมบัติทั่วไปผู้สมัครในแต่ละโครงการต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้1. กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า          2. มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมนับถึงภาคการศึกษาสุดท้าย ที่มีผลการเรียนก่อนยื่นสมัคร ไม่ต่ำกว่า 3.00          3. ไม่เคยต้องโทษในคดีอาญา เว้นแต่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ  4. ไม่เคยต้องพ้นสภาพจากความเป็นนักศึกษาในสถาบันใดๆ เพราะความผิดทางวินัย  5. เป็นผู้มีร่างกายและสุขภาพสมบูรณ์คือ ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพไร้ความสามารถหรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบและต้องมีบุคลิกภาพที่คณะกรรมการรับบุคคลเข้าศึกษาพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและการประกอบอาชีพ ดังนี้                    5.1 ความผิดปกติในการเห็นภาพ โดยมีอย่างน้อยข้อใดข้อหนึ่งคือ                             5.1.1 สายตาบอดสนิท ไม่สามารถรับแสงได้ข้างหนึ่ง                             5.1.2 ผู้สมัครที่สายตาไม่ปกติ เมื่อรักษาโดยใช้แว่นแล้วยังมีสายตาต่ำกว่า 6/24 ทั้งสองข้าง                             5.1.3 สายตาข้างดีต่ำกว่า 6/12 เมื่อได้รับการแก้ไขอย่างดีที่สุดแล้ว                              5.1.4 ไม่สามารถมองเห็นภาพเป็นสามมิติ                    5.2 หูหนวกหรือหูตึง(threshold) ของการได้ยินสูงกว่า 40dB จากความผิดปกติทางประสาท (sensorineural hearing loss) จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและการประกอบอาชีพ                    5.3 ผู้ที่ตาบอดสีรุนแรง จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและการประกอบอาชีพ5.4 โรคลมชัก

แนวทางประกอบอาชีพ :
เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วบัณฑิตสัตวแพทย์สามารถประกอบอาชีพได้อย่างหลากหลาย ดังนี้ 1. รับราชการในกระทรวง กรม กองต่างๆ ของรัฐ เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมปศุสัตว์ และอื่นๆ) กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย หรือกระทรวงกลาโหม เป็นต้น 2. เป็นอาจารย์/นักวิจัย/เจ้าหน้าที่ในมหาวิทยาลัยของรัฐ และเอกชน 3. ทำงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล เป็นต้น 4. ทำงานในรัฐวิสาหกิจ เช่น อสค. องค์การสวนสัตว์ หรือโรงฆ่าสัตว์ ฯลฯ 5. ทำงานในบริษัทเอกชน เช่น นักวิชาการในบริษัทจำหน่ายเวชภัณฑ์ อาหารสัตว์ ฯลฯ 6. ประกอบอาชีพส่วนตัว เช่น คลินิกรักษาสัตว์ โรงพยาบาลสัตว์ หรือฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ฯลฯ    นอกจากนี้ยังสามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ รวมทั้งหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาของคณะเองด้วย