คณะสาขา / โครงการที่เปิดรับ (รอบที่ 1.2 Portfolio) ปีการศึกษา 2568

ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลง แก้ไข ให้ตรวจสอบข้อมูลอย่างต่อเนื่อง

คณะวิทยาศาสตร์ : โครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (ทุนโครงการ สควค.)
หลักสูตร : วท.บ. (ชีววิทยา) ชีววิทยา โครงการ สควค.


รายละเอียดการรับสมัคร
ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา ​(ค่าเทอม)
นักศึกษาไทย : 16000 บาท

การรับสมัคร
หลักสูตรแกนกลาง : รับ
นานาชาติ : ไม่รับ
อาชีวะ : ไม่รับ
กศน. : ไม่รับ
GED : ไม่รับ
เด็กซิ่ว : ไม่รับ

เกรดขั้นต่ำ : เกรด 5 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.00

เกณฑ์การคัดเลือก :
เกณฑ์การคัดเลือก (คุณลักษณะของผู้เข้ารับทุนโครงการ สควค.)1.  ความรู้และการนำ ความรู้ไปใช้     1.1   องค์ความรู้ในสาขาวิชา (disciplinary knowledge) ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี             รอบรู้วิชาการด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ตลอดจนการนำความรู้ไปเชื่อมโยงกับสถานการณ์ในชีวิตจริง บูรณการความรู้ระหว่างสาระวิชาและประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมในทางสร้างสรรค์ และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงบริบทสังคม2.  เจตคติ      2.1   เจตคติ และทัศนคติต่อวิชาชีพครู               รู้สึก คิดเห็นในเชิงบวก (positive attitude) ที่แสดงออกถึงความพึงใจ ความศรัทธา การเห็นคุณค่าและความสำคัญต่อวิชาชีพครู โดยมีพื้นฐานจากความคิด ความเชื่อและประสบการณ์3.  ทักษะพื้นฐานสำหรับ ผู้รับทุนโครงการ สควค.     3.1   การใฝ่ใจเรียนรู้            มุ่งมั่น ตั้งใจ จดจ่อกับการเรียน (passion to learn) และกระตือรือร้นสนใจเรียนรู้ (eager to learn) รวมทั้งรู้ ใช้วิธีสืบเสาะ (inquiry method) แสวงหาเพิ่มพูนความรู้เพื่อหาคำตอบในสิ่งที่ตนสงสัย     3.2   การใช้ภาษาเพื่อสื่อสาร            รู้ เข้าใจ และใช้ทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือในการสื่อความหมาย ถ่ายทอดข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นทั้งเรื่องทั่วไปในชีวิตประจำวันและเรื่องทางวิชาการได้ถูกต้องเหมาะสมและตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ     3.3   การแก้ปัญหา            วิเคราะห์ แยกแยะ ระบุสาเหตุของปัญหาและผลที่เกิดขึ้น โดย คิดสังเคราะห์และตัดสินใจบนหลักเหตุผลเพื่อจัดการปัญหาได้อย่างเหมาะสม มีเป้าหมาย สอดรับกับข้อมูลและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง     3.4   การทำงานร่วมกับผู้อื่น            ทำงานร่วมกับผู้อื่นด้วยทัศนคติเชิงบวก เห็นประโยชน์ในความหลากหลายของบุคคล รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนและเคารพสิทธิของผู้อื่น ประสานความคิดเห็นที่แตกต่างเพื่อจัดการกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น รับฟังผู้อื่นด้วยใจที่เปิดกว้าง เข้าใจความคิด อารมณ์ หรือความรู้สึกของผู้อื่นโดยไม่ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง     3.5   การรู้เท่าทันอารมณ์ ของตนเอง             รู้อารมณ์และความคิดของตนเอง สามารถกำกับอารมณ์ จัดการความคิดและพฤติกรรมที่แสดงออกได้เหมาะสม